ศูนย์จีโนมฯ แจง ‘วัคซีนรุ่น 3’ กับความหวังในการป้องกันโควิดกลายพันธุ์ ที่จะระบาดในอนาคต

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนรุ่นที่ 3 (Third generation vaccine) กับความหวังในการป้องกันโควิด-19 กลายพันธุ์ที่จะระบาดในอนาคต

วัคซีนรุ่นที่ 1 (First generation vaccines) ที่ใช้หัวเชื้อเป็นโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม “อู่ฮั่น” และวัคซีนรุ่นที่ 2 (COVID-19 Bivalent Vaccine Boosters) ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น ใช้หัวเชื้อเป็นไวรัสสองสายพันธุ์ ระหว่างโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม “อู่ฮั่น” และ “โอมิครอน BA.4/BA.5” พบว่าการพัฒนาของวัคซีนไม่ทันกับการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 (ที่สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากวัคซีน)อยู่หนึ่งถึงสองก้าวเสมอ นักวิทยาศาสตร์จึงเร่งพัฒนาวัคซีนรุ่นที่ 3 ซึ่งป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในวงกว้าง (broadly protective vaccines) ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโควิดสายพันธุ์ปัจจุบัน หรือสายพันธุ์ในอนาคตที่โปรตีนส่วนหนามเปลี่ยนแปลงไปจนภูมิคุ้มกันที่ถูกสร้างขึ้นจากการกระตุ้นด้วยวัคซีนรุ่นที่ 1 หรือวัคซีนรุ่นที่ 2 ไม่สามารถเข้าจับและทำลายไวรัสกลายพันธุ์เหล่านั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าสามารถป้องกันมิให้ผู้ได้รับวัคซีนเมื่อติดเชื้อโควิดมีอาการรุนแรงต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต

วัคซีนรุ่นที่ 3 จะใช้บางส่วนของโปรตีนหนามจากโควิดหลายสายพันธุ์ โดยเลือกบริเวณที่ไม่ค่อยมีการกลายพันธุ์ (conserved region) มาป้ายติดกับบน “อนุภาคนาโน (Nanoparticles)” บริเวณที่ว่าคือส่วน “โดเมนจับตัวรับบนผิวเซลล์มนุษย์ (the receptor-binding domain; RBD)” บนหนามของไวรัสโควิด-19 ซึ่งไวรัสจะใช้จับกับโปรตีนตัวรับ “ACE2” บนผิวเซลล์ของมนุษย์ ก่อนที่จะแทรกเข้าสู่เซลล์

ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยวอชิงตันในซีแอตเติลและจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (คาลเทค) ในเมืองพาซาดีนา กำลังเร่งผลิตวัคซีนรุ่นที่ 3 ที่เรียกว่า “วัคซีนโมเสก (mosaic vaccine)” ประกอบด้วย “อนุภาคนาโน” ที่ถูกแต้มด้วย ส่วน “RBD” ผลิตมาจากไวรัสโคโรนาหลายตระกูลที่แยกได้จากทั้งในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่นค้างคาว เป็นต้น

วัคซีนรุ่นที่ 3 หรือ “วัคซีนโมเสก” แตกต่างจากวัคซีนรุ่นที่ 1 และ 2 ตรงที่จะไม่จำเพาะต่อโควิดใดสายพันธุ์หนึ่ง (broadly protective vaccine) เพราะวัคซีนโมเสกถูกสร้างจากการนำชิ้นส่วนของ “RBD” จากไวรัสโคโรนาหลากหลายสายพันธุ์มาเกาะรวมกันในอนุภาคเดียว เพื่อสามารถกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดีหลากหลายชนิดในร่างกายมนุษย์พร้อมกันที่มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่กว้างขึ้น

“แอนติบอดี” ที่สร้างจากเม็ดเลือดขาวประเภทเซลล์ B (B lymphocyte) ที่ถูกกระตุ้นด้วย “อนุภาคนาโน” ที่ถูกแต้มด้วยโปรตีน RBD จากโควิด-19 หลากหลายสายพันธุ์ จะเข้าจับยึดกับอนุภาคไวรัสได้อย่างแน่นหนามั่นคงกว่า

“อนุภาคนาโน” ที่ถูกแต้มด้วยโปรตีน RBD จะกระตุ้นให้ B เซลล์ เพิ่มจำนวนและผลิตแอนติบอดีมากขึ้น พร้อมกับการสร้างบีเซลล์ที่มีความจำ (memory B cell) เก็บไว้เพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อโควิด-19 ในอนาคต ที่มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากโควิด-19 ในปัจจุบัน

ชมภาพแอนิเมชันจากวารสาร Nature ประกอบ
https://www.youtube.com/watch?v=ELwYEqzTgSk&t=1s

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากวารสาร Nature เกี่ยวกับโควิดวัคซีนแห่งอนาคต
https://www.nature.com/articles/d41586-023-00220-z
https://www.youtube.com/watch?v=SgF-Rm6Uulo

วัคซีนรุ่นที่ 3 (Third generation vaccine) กับความหวังในการป้องกันโควิด-19 กลายพันธุ์ที่จะระบาดในอนาคต

วัคซีนรุ่นที่ 1 (First generation vaccines) ที่ใช้หัวเชื้อเป็นโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม “อู่ฮั่น” และวัคซีนรุ่นที่ 2 (COVID-19 Bivalent Vaccine Boosters) ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น ใช้หัวเชื้อเป็นไวรัสสองสายพันธุ์ ระหว่างโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม “อู่ฮั่น” และ “โอมิครอน BA.4/BA.5” พบว่าการพัฒนาของวัคซีนไม่ทันกับการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 (ที่สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *