NT นครพนม จับมือ สสจ.นครพนม เปิดเวทีสัมมนา ‘Cybersecurity for Smart Government’

สร้างความรู้ – วิเคราะห์ภัยคุกคามในหน่วยงานกลุ่มสาธารณสุข

 วันอังคารที่ 26 มีนาคม 2567 นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม มอบหมายนายแพทย์กิตติเชษฐ์ ธีรกุลพงศ์เวช รักษาการนายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดการสัมมนา “Cybersecurity for Smart Government” ซึ่งบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) โดยส่วนขายและบริการลูกค้า นครพนม

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ซึ่งนายสิทธิ จิตรดาภา รักษาการโทรคมนาคมจังหวัดนครพนม กล่าวว่า ตามประกาศคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ ลักษณะหน่วยงานที่มีภารกิจหรือให้บริการ เป็นหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII) และการมอบหมายการควบคุมและกำกับดูแล พ.ศ.2564 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ.2564 ในการนี้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศด้านสาธารณสุขและรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ด้านสาธารณสุข (Health CIRT) เพื่อประสานงาน เฝ้าระวัง รับมือและแก้ไขภัยคุกคามทางไซเบอร์ด้านสาธารณสุข

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม รวมไปถึงการให้บริการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายเต็มรูปแบบ ในการรักษาความปลอดภัยและป้องกันภัยคุกคามต่างๆ ทางไซเบอร์ให้กับอุปกรณ์เครือข่ายภายในโรงพยาบาล จึงจัดสัมมนาเพื่อเป็นการสร้างความรู้และความเข้าใจกฏหมายที่เกี่ยวข้อง แนวโน้มภัยคุกคามทางไซเบอร์ของกลุ่มสาธารณสุขที่ต้องเฝ้าระวัง รวมถึงการวิเคราะห์ภัยคุกคามและรับมือการโจมตีทางไซเบอร์ให้กับนักวิชาการคอมพิวเตอร์และผู้ที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาล ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ทั้3 12 แห่ง

นายแพทย์กิตติเชษฐ์ ธีรกุลพงศ์เวช รักษาการนายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม กล่าวว่า ในปัจจุบันการโจมตีทางไซเบอร์ เป็นภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่าย และข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถก่อให้เกิดความเสียหายกับองค์กร เช่น การสูญหายของข้อมูล การเรียกค่าไถ่ โดยในปัจจุบันมีการโจมตีทางไซเบอร์หลายรูปแบบด้วยกัน จากการถูกสร้างมาให้บุคคลที่สามสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือขัดขวางการทำงานบางอย่างของระบบการทำงานภายใน โดยมีหลากหลายรูปแบบที่ต้องระมัดระวัง เช่น แรนซัมแวร์ (Ransomware), ฟิชชิ่ง (Phishing), ภัยคุมคามจากภายใน ที่ตั้งใจมุ่งประสงค์ร้ายต่อระบบความปลอดภัยขององค์กร

“การสัมมนาในครั้งนี้เป็นการสร้างความรู้และความเข้าใจกฏหมายที่เกี่ยวข้อง แนวโน้มภัยคุกคามทางไซเบอร์ของกลุ่มสาธารณสุขที่ต้องเฝ้าระวัง รวมถึงการวิเคราะห์ภัยคุกคามและรับมือการโจมตีทางไซเบอร์ให้กับนักวิชาการคอมพิวเตอร์และผู้ที่เกี่ยวข้อง ตามประกาศคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ”

//////////////////////

ปัญญา จรรยาเพศ ภาพข่าว   สุเทพ หันจรัส ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดนครพนม รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *