อุทัยธานี ชาวอำเภอบ้านไร่เชื้อสายลาวประกอบพิธีแห่ค้างดอกไม้ พร้อมผู้ใหญ่บ้านท้าชกมวยทะเลกลางน้ำสร้างความฮาผู้ร่วมงานประชาชนร่วมงานนับพันคน โดย อบต.ร่วมกับ ททท.ส่งเสริมการจัดงาน โดยมี รมช.มหาดไทยเปิดงาน

วันที่ 15 เมษายน 2567 โดยองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแห้ง นายญวน ปานาง นายก อบต.ห้วยแห้ง ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุทัยธานี และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุทัยธานี จัดงานอนุรักษ์และสืบสานประเพณีดังกล่าว ซึ่งประเพณีแห่ค้างดอกไม้เป็นประเพณีประจำท้องถิ่นของชาวอำเภอบ้านไร่ เชื้อสายลาว ที่มีมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ และถือปฏิบัติในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 13-18 เมษายนของทุกปี และแห่ค้างดอกไม้ไปวัดผาทั้ง หลวงโต  และมีการเล่นสาดน้ำสงกรานต์และปะแป้งสนุกสนานในระหว่างแห่ขบวน โดยมีชาวอำเภอบ้านไร่ ตำบลใกล้เคียงร่วมงานนับพันคน โดยนายชาดา ไทยเศรษฐ์ รมช.มหาดไทยเป็นประธานเปิดงานพร้อมนายเผด็จ นุ้ยปรี  นายพอง฿การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี ผู้ใหญ่กำนัน ประชาชน ทั่วไปร่วมงานนับพันคน

หลังจากนั้น ได้จัดให้มีการชกมวยทะเลในน้ำจำนวน 7 คู่ โดยมีคู่โฮไลน์ ระหว่างผู้ใหญ่บ้านนายพนม บ้านสระ กับผู้ใหญ่ยาว บ้านเขาวง โดยทั้ง 2 มีกองเชียร์ มาให้กับลังใจขอบสนาม สร้างความฮา ผลชนะผู้ใหญ่พนม บ้านสระเป็นฝ่ายชนะ ลังจากนั้นมีคู่ชกฝ่ายหญิง โดยมีกองเชียร์ต้องมาให้น้ำด้วยเหล้ารีเจซี  โดนทั้ง 7  คู่สร้างความฮาเอให้กับประชาชนที่มาร่วมงานและคล้ายร้อนจำนวนมาก

โดยในพิธีนั้น ชาวบ้านที่มีเชื้อสายลาวจะนำดอกไม้นานาชนิด อาทิ ดอกเฟื่องฟ้า ดอกพุด ดอกจำปา ดอกรัก ดอกเข็ม ดอกมะลิ ใบโกศล ใบมะพร้าว ฯลฯ ซึ่งเป็นดอกไม้ในท้องถิ่นทั้งหมดมาทำเป็นพุ่มคล้ายทรงเจดีย์ และทำการแห่ไปยังวัด เรียกว่าการแห่ค้างดอกไม้ ในช่วงวันสงกรานต์เพื่อเป็นการสอนลูกหลานในท้องถิ่นให้รู้จักการมีสัมมาคารวะ รู้จักการขอขมา และการให้อภัยซึ่งกันและกัน โดยจะเรียกกันว่า เป็นการอนุญาตบาปกรรม กล่าวคือ การเล่นสงกรานต์มักจะมีการล่วงเกินพระสงฆ์องค์เจ้า ล่วงเกินคนเฒ่าคนแก่ และล่วงเกินซึ่งกันและกัน และในทุกๆ ปีจะมีกิจกรรมการแสดงวัฒนธรรมประเพณีประจำท้องถิ่นเพิ่มเติม

ความเป็นมาของประเพณีดังกล่าว ผู้สูงอายุในหมู่บ้านได้เล่าเพิ่มเติมว่า เมื่อสิ้นสุดการเล่นสงกรานต์ในแต่ละวันแล้วนั้น คนหนุ่มสาว ลูกเด็กเล็กแดง จะพากันไปเก็บดอกไม้ตามบ้านและนำมาผูกให้เป็นพุ่มผูกติดกับคานหาบทรงคล้ายเจดีย์ และหามไปตามหมู่บ้าน เพื่อขออนุญาตบาปกรรมจากคนเฒ่าคนแก่หรือจากทุกคน และคนเฒ่าคนแก่หรือคนทั่วไปก็จะอนุญาตบาปด้วยการหยาดน้ำไปที่ดอกไม้และก็จะนำดอกไม้ฝากไปด้วย จึงเรียกว่า ค้างดอกไม้ เมื่อนำไปถึงวัดพระก็จะให้อนุญาตบาปกรรมแก่ญาติโยมด้วยการหยาดน้ำอีกครั้ง ซึ่งการกระทำเช่นนี้ได้มีการกระทำสืบต่อกันมาช้านาน ซึ่งคนเฒ่าคนแก่ก็ไม่ทราบได้ว่าทำกันมาตั้งแต่เมื่อใดแน่ เพราะเมื่อจำความได้ก็เห็นคนเฒ่าคนแก่ในสมัยนั้นนำพาปฏิบัติอยู่ก่อนแล้ว

////////////////////

สมาคมสื่อมวลชนอุทัยธานี นายพชร พัสกุล

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *