อุทัยธานี ภาพ(โดรนมุมสูง) ผู้ว่าฯ จ.อุทัยธานี นำคณะส่วนราชการประชาชนสำรวจแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กว่าง 200 คน พิชิตยอดเขาปลาร้า ชมภาพเขียนสีโบราณ ล้ำค่า พร้อมชมถ้ำทีสวยงามก่อนประวัติศาสตร์ อายุกว่า 3,000-5,000 ปี พบกับกิ้งกือมังกรสีชมพูมาอวดโฉม

  นายธีรพัฒน์ คัชมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี รองผู้ว่าราชการ  หัวหน้าศาลเยาว์ชน ผู้บังการจังหวัดอุทัยธานี พร้อมกับนายอำเภอทั้ง 8 อำเภอ หัวส่วนราชการ และประชาชนกว่า 200 คน ตลุยเส้นทางสุดโหด สำรวจแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พิชิตยอดเขาปลาร้า  1400 เมตร ชมภาพเขียนสี ก่อนประวัติศาสตร์ อายุกว่า 3,000-5,000 ปี  พร้อมชมภายในถ้ำที่สวยงามด้วยแร่  หมู่ 3 ตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี สำหรับภาพเขียนสี ก่อนประวัติศาสตร์เขาปลาร้า ชวนชมภาพเขียนสีโบราณ ล้ำค่า ก่อนประวัติศาสตร์  พร้อมชมถ้ำที่มีแร่ควอตซ์ ทีระยิบระยับ สวยงาม ซึ่งคาดว่าเป็นทีอยู่ของคนรุ่นนั้น เขาปลาร้า อายุ 3,000-5,000 ปี ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน จ.อุทัยธานีเขาปลาร้าเป็นภูเขาหินปูน ส่วนหนึ่งของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน ในระหว่างที่เดินไตรเขาขึ้นไประหว่างทางพบกับกิ้งกือมังกรสีชมพู เดินมาอวดโฉมให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูป

ทั้งนี้ เขาปลาร้า เป็นภูเขาหินปูน มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน บนยอดเขาทางด้านทิศใต้มีถ้ำที่มีลักษณะเป็นเวิ้งสูง พื้นที่ไม่กว้างนัก ชาวบ้านเรียกถ้ำนี้กันว่าถ้ำประทุน เมื่อประมาณปี พ.ศ.2522 นายเล้ง วิทยา และนายปัน อินทรประเทศ ชาวบ้านทุ่งโพ อ.หนองฉาง ได้ขึ้นไปที่ถ้ำประทุน และพบภาพเขียนสีบนผนังของถ้ำ และถ้ำทีพักอาศัยของคนสมันดึกดำบรรพ์

 ซึ่งก่อนหน้านั้น นายพลาดิสัย สิทธิธัญกิจ ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของจังหวัดอุทัยธานี และนายวิทยา อินทโกศัย นักโบราณคดีจากกรมศิลปากร ทั้ง 2 จึงได้ขึ้นไปสำรวจ พบว่าภาพเขียนสีบนผนังของถ้า อยู่ที่ระดับความสูงของพื้นถ้ำระหว่าง 5-7 เมตร เป็นแนวยาวประมาณ 9 เมตร มีทั้งเป็นรูปคนและรูปสัตว์ ได้แก่ ภาพสุนัข ไก่ เต่า กบ กวาง วัว กระทิง เป็นต้น คาดว่าน่าจะมีอายุประมาณ 3,000-5,000 ปี

ภาพเขียน เขียนด้วยสีดำ สีแดง และสีแดงเข้ม บางภาพใช้ทั้ง 3 สี เขียนซ้อนทับกัน แต่ละภาพมีเทคนิคการเขียนที่แตกต่างกัน เช่น แบบเงาทึบ  แบบเงาทึบบางส่วน  แบบโครงร่างภายนอก  แบบกิ่งไม้  และแบบเส้นร่าง  รวมภาพที่ปรากฏตามผนัง พบว่ามีกว่า 40 ภาพ แต่ที่เขียนเสร็จค่อนข้างสมบูรณ์ มี 30 ภาพ

 ภาพเขียน เขียนด้วยสีดำ สีแดง และสีแดงเข้ม บางภาพใช้ทั้ง 3 สี เขียนซ้อนทับกัน แต่ละภาพมีเทคนิคการเขียนที่แตกต่างกัน เช่น แบบเงาทึบ  แบบเงาทึบบางส่วน  แบบโครงร่างภายนอก  แบบกิ่งไม้  และแบบเส้นร่าง  รวมภาพที่ปรากฏตามผนัง พบว่ามีกว่า 40 ภาพ แต่ที่เขียนเสร็จค่อนข้างสมบูรณ์ มี 30 ภาพ

ภาพที่เขียน ส่วนใหญ่อยู่ในท่ากระโดดโลดเต้น และร่ายรำ เมื่อพิจารณาในองค์ประกอบต่างๆ ผู้เขียนมีความประสงค์จะบันทึก เพื่อสื่อถึงการประกอบพิธีกรรมทางการเกษตรกรรม คล้ายๆ ภาพงานพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ภาพของการต่อสู้กับวัวกระทิง น่าจะตีความได้ว่าในสมัยนั้นในชุมชนถิ่นนี้ ยังมีการเข้าป่าล่าสัตว์อยู่  นอกจากนี้ยังมีการค้นพบขวานหิน จำนวน 2 ชิ้น และเศษภาชนะดินเผาในบริเวณดังกล่าว โดยในปัจจุบันได้มีการเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดอุทัยธานี

 ผู้สนใจสามารถเข้าชมภาพเขียนได้ ณ​ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน แนะนำให้นักท่องเที่ยวมาเข้าชมในช่วงเวลาเช้า เนื่องจากต้องเดินเท้าขึ้นไปเป็นระยะทางประมาณ 1,400 เมตร ใช้เวลาเดินขึ้น-ลง​ ประมาณ 3 ชั่วโมง โดยนักท่องเที่ยวจะต้องแจ้งติดต่อเจ้าหน้าที่ที่แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติหุบป่าตาดก่อน เนื่องจากเส้นทางขึ้นมีความลาดชันและลื่น เพื่อความปลอดภัยเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุนจะจัดเจ้าหน้าที่นำทางขึ้นไปกับท่าน และแนะนำให้สวมใส่รองเท้าผ้าใบและเตรียมน้ำดื่มไปให้พร้อม

//////////////////////

มสาคมสื่อมวลชนอุทัยธานี  พชร พัสกุล

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *