“ผบช.สตม.”นำทีมแถลงผลการระดมกวาดล้าง ต่างชาติ ช่วงก่อนประชุมเอเปค ทำผิดกฏหมาย 5 คดีรวด

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ ผบช.สตม. โดย พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ ผบช.สตม. พร้อมด้วย พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ธนิต ไทยวัชรามาศ ผบก.สส.สตม., พล.ต.ต.มานัด ศรีวงษา ผบก.ตม.3, พล.ต.ต.เกติ์ฉกาจ นิลประดับ ผบก.ตม.4, พ.ต.อ.รัฐโชติ โชติคุณรอง ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.อาภากร โกมลสุทธิ รอง ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.ทรงโปรด สิริสุขะ รอง ผบก.ตม.3, พ.ต.อ.ไกลเขต บุรีรักษ์ รอง ผบก.ตม.3, พ.ต.อ.รัชธพงศ์ เตี้ยสุด รอง ผบก.ตม.3, พ.ต.อ.หฤษฎ์ เอกอุรุ รอง ผบก.ตม.3, พ.ต.อ.สิทธิ์ ศิริกังวานกุล รอง ผบก.ตม.4, พ.ต.อ.วีรยศ การุณยธร รอง ผบก.ตม.4, พ.ต.อ.กฤษฎากรณ์ กลิ่นเกษร รอง ผบก.ตม.4 , พ.ต.อ.ณัฐวุฒิ แสงเดือน รอง ผบก.ตม.4, พ.ต.อ.ชิตเดชา สองห้อง ผกก.1 บก.สส. สตม., พ.ต.อ.อุกฤต กัลยาณมิตร ผกก.ตม.จว.กาญจนบุรี, พ.ต.อ.สุทธิพงษ์ พุทธิพงษ์ ผกก.ตม.จว.ประจวบคีรีขันธ์, พ.ต.อ.จิรพงศ์ รุจิรดำรงค์ชัย ผกก.สส.บก.ตม.3, พ.ต.อ.พิษณุ สิทธิฑูรย์ ผกก.สส.บก.ตม.4 และ พ.ต.อ.สำราญ กลั่นมา ผกก.ตม.จว.สุรินทร์ ได้ร่วมกันแถลงข่าวว่า : ตามที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค หรือความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ประจำปี พ.ศ.2565 (APEC 2022 Thailand) ในห้วงระหว่างวันที่ 14 – 19 พ.ย.2565 ประกอบกับนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมี พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ที่กำชับให้ สตม. ดำเนินการระดมกวาดล้าง สืบสวนจับกุม ผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 โดยเน้นการกระทำความผิดเกี่ยวกับการอยู่เกินกำหนดอนุญาต (Overstay) และความผิดอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง

เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมทั้งเป็นการเตรียม
ความพร้อมในการดูแลรักษาความปลอดภัยในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ที่กำลังจะมีขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ อีกทั้งทำให้การปฏิบัติงานด้านการป้องกันปราบปราม สืบสวนจับกุม เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม นั้น คดีทึ่ 1 จับผู้ต้องหาชาวเกาหลี OVERSTAY หนีคดีฉ้อโกงเพื่อนร่วมชาติ ความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท

พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ กล่าวว่าสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองระดมกวาดล้างอาชญากรรมก่อนการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ในห้วงระหว่างวันที่ 5 – 31 ต.ค.65 โดยมีเป้าหมายหลัก เป็นคนต่างด้าวที่กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และกฎหมายอื่น ๆ ได้แก่ หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย, การอยู่เกินกำหนดอนุญาต (Overstay), การนำพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร ช่วยเหลือซ่อนเร้นคนต่างด้าวให้พ้นจากการจับกุม และการให้คนไทยถือหุ้นแทนคนต่างด้าว (นอมินี) เพื่อสนับสนุนให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจโดยหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542เป็นต้น และเมื่อมีการจับกุมผู้กระทำความผิดได้แล้ว ให้ขยายผลการจับกุมทุกรายเพื่อให้ทราบถึงผู้ร่วมกระทำความผิด เครือข่ายของผู้กระทำความผิด และให้ดำเนินการติดตามจับกุมผู้ร่วมกระทำความผิด/เครือข่ายของผู้กระทำความผิด ต่อไป

ซึ่ง ผลการดำเนินการระดมกวาดล้างอาชญากรรม ในห้วงระหว่างวันที่ 5 – 31 ต.ค.65 สตม. สามารถ จับกุมคนต่างด้าวอยู่เกินกำหนดอนุญาต (Overstay) ได้ทั้งสิ้น 719 คดี จับกุมผู้ต้องหาได้ 779 คน
เมื่อเปรียบเทียบสถิติการจับกุมคนต่างด้าวอยู่เกินกำหนอนุญาต (Overstay) ห้วงเดือนตุลาคม ปี 2564กับ เดือนตุลาคมปี 2565 ผลปรากฏว่ามีสถิติเพิ่มขึ้น 584 คดี คิดเป็น ร้อยละ 432.59 และ
เมื่อเปรียบเทียบสถิติการจับกุมคนต่างด้าวอยู่เกินกำหนดอนุญาต (Overstay) ห้วงเดือนกันยายน 2565
กับ เดือนตุลาคม 2565 ปรากฏว่ามีสถิติเพิ่มขึ้น 563 คดี คิดเป็น ร้อยละ 360.90

ทั้งนี้ สตม. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลรักษา
ความปลอดภัยในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ จึงสั่งการให้ สตม. มีการระดมกวาดล้างอาชญากรรมในห้วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคอย่างต่อเนื่อง และให้มีผลการปฏิบัติเป็นรูปธรรม ตลอดเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยมีเป้าหมายหลักเป็นคนต่างด้าวที่กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 โดยเฉพาะข้อหาเป็นคนต่างด้าวอยู่เกินกำหนดอนุญาต (Overstay) และกฎหมายอื่น ๆ เพื่อดำเนินการตามนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเป็นการเตรียมความพร้อมในการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและคณะบุคคลสำคัญที่เข้าร่วมภารกิจการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ตลอดระยะเวลาการประชุมในครั้งนี้ จากการระดมกวาดล้างอาชญากรรมในห้วงวันที่ 5 – 31 ตุลาคม 2565 มีผลการจับกุมคดีสำคัญและน่าสนใจ ดังนี้

1.จับผู้ต้องหาชาวเกาหลี OVERSTAY หนีคดีฉ้อโกงเพื่อนร่วมชาติ ความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.1 บก.สส.สตม. จับกุมนายบุนซู (นามสมมติ) อายุ 62 ปี สัญชาติเกาหลี โดยกล่าวหาว่า เป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด โดยการจับกุมครั้งนี้ สตม. ได้รับการประสานงานจากกงสุลฝ่ายตำรวจประจำสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี ประจำประเทศไทย ว่า นายบุนซู (นามสมมติ)
เป็นบุคคลที่ทางการเกาหลีใต้ต้องการตัวไปดำเนินคดีในความผิดฐานฉ้อโกง เนื่องจากประมาณกลางเดือนมีนาคม 2559 ที่กรุงเทพฯ นายบุนซู ได้หลอกผู้เสียหายว่าตนเองมีร้านเอาท์เล็ทในกรุงเทพฯ ประมาณ 30 แห่ง

ถ้าผู้เสียหายส่งเสื้อผ้าจากเกาหลีมาไทย จะขายได้ 3 – 15 เท่าของราคาเดิม และรับประกันราคาเสื้อผ้า
ให้ผู้เสียหาย พร้อมกำไรเพิ่มเติม และบอกกับผู้เสียหายว่าในประเทศไทยธุรกิจอะไรก็สามารถทำได้ง่าย เพราะพ่อตาของเพื่อนร่วมงานของตนเองเป็นหัวหน้าศาลแห่งหนึ่งในประเทศไทย นอกจากนี้ นายบุนซู
ยังขอเงินจากผู้เสียหายในนามค่าธรรมเนียมพิธีการศุลกากรส่งออก นายบุนซูหลอกลวงผู้เสียหายระหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม 2559 ถึงวันที่ 24 มีนาคม 2560 รวมกว่า 36 ครั้ง ทำให้ผู้เสียหายสูญเงินกว่า 3,558 ล้านวอน (ประมาณ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) หรือคิดเป็นเงินไทยกว่า 100 ล้านบาท

กก.1 บก.สส.สตม. ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตม. พบว่า นายบุนซู เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเมื่อวันที่ 19 ม.ค.2563 ได้รับการยกเว้น การตรวจลงตราประเภท ผผ.90 และได้รับการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปถึงวันที่ 18 เม.ย.2565 ปัจจุบันได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยมีการแจ้งที่พักอาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ หลายแห่ง หลังจากนั้น
กก.1 บก.สส.สตม. จึงได้ออกสืบสวนติดตามหาตัวนายบุนซู ตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในย่าน korean town แหล่งที่พักอาศัยในเขตห้วยขวาง เขตประเวศ กระทั่งต่อมาขณะเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมได้ออกประชาสัมพันธ์การแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าวตามมาตรา 37 และมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 เพื่อเตรียมความพร้อมการรักษาความปลอดภัยการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค 2022 ได้พบเห็นนายบุนซู พักอาศัยอยู่ที่คอนโดมิเนียมในย่าน ถ.ศรีนครินทร์ แขวงบางบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ

จึงได้แสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองขอตรวจสอบหนังสือเดินทางหรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทาง ในเบื้องต้นผู้ถูกจับไม่มีหนังสือเดินทางแสดงแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับจึงได้เชิญผู้ถูกจับมาตรวจสอบข้อมูล
กับระบบ Biometrics พบว่า การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้สิ้นสุดแล้ว และเป็นบุคคลคนเดียวกันกับที่ทางการเกาหลีใต้ต้องการตัว จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบว่า นำตัวส่งพนักงานสอบสวน
กลุ่มงานสอบสวน บก.สส.สตม. ดำเนินคดีตามกฎหมาย สถานที่จับกุม บริเวณชั้นจอดรถของคอนโดมิเนียมย่าน
ถ.ศรีนครินทร์ แขวงบางบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ

  • รวบผู้ต้องหาออสเตรียก่อคดีหนีซุกไทย
    ตามที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้สั่งการให้ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ กรณี สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐออสเตรีย ประจำประเทศไทย ขอความอนุเคราะห์
    ในการติดตามตัว นายมาร์โก้ (นามสมมติ) อายุ 50 ปี สัญชาติออสเตรีย ซึ่งเป็นบุคคลที่สาธารณรัฐออสเตรียต้องการตัวไปดำเนินคดีตามหมายจับสหภาพยุโรป ภายใต้หมายเลขคดี 6St 211/20f สำนักงานอัยการประจำเมืองซาลซ์บูร์ก ในความผิดฐาน ยักยอกเงินสมทบประกันสังคมของพนักงาน ความผิดฐานละเมิดผลประโยชน์ของเจ้าหนี้อย่างร้ายแรง ความผิดฐานฉ้อฉลล้มละลาย และความผิดฐานฉ้อโกงประกันสังคม
    รวมความผิดทั้งสิ้น 7 กระทง
    กก.1 บก.สส.สตม. จึงได้ตรวจสอบข้อมูลในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตม. พบว่า นายมาร์โก้ ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2564 จึงได้ขอเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของนายมาร์โก้ เนื่องจากเป็นบุคคลซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างประเทศได้ออกหมายจับ เข้าลักษณะต้องห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 12 (7) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มีพฤติการณ์สมควรเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และได้สืบสวนติดตามหาตัวนายมาร์โก้ จนทราบเป็นที่แน่ชัดว่านายมาร์โก้มักจะเดินทางมาที่โรงแรมแห่งหนึ่งในย่าน ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จว.พังงา เป็นประจำ จึงได้ไปประสานงานกับ ตม.จว.พังงา เข้าตรวจสอบที่โรงแรมดังกล่าว และพบนายมาร์โก้ จึงได้แจ้งคำสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรให้ทราบ และนำตัวส่ง กก.3 บก.สส.สตม. เพื่อกักกันรอการส่งกลับไปสาธารณรัฐออสเตรียต่อไป
  • PCT ร่วมกับ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง , ตำรวจท่องเที่ยว และ บช.สอท. เปิดปฏิบัติการทลายแก๊งเวปพนันจีน ลักลอบใช้เมืองไทยเป็นฐานการพนัน จับกุมพนักงานเว็บจีนกว่า 56 คน ด้วยเจ้าหน้าที่ ศปอส.ตร.ร่วมกับ สตม., บช.ทท.และ บช.สอท.สืบทราบว่า มีกลุ่มชาวต่างชาติชาวจีนได้ลักลอบใช้เมืองไทยเปิดเว็บไซต์พนันออนไลน์ชื่อ เห่อชิง (HengXin) และ คายยุน (Kaiyun) มีพนักงานกว่า 50 คน อยู่ที่หอพักแห่งหนึ่งในพื้นที่ สวนหลวง และ หัวหมาก กทม.จึงได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รวบรวมพยานหลักฐานทำการขออนุมัติหมายค้นหอพักดังกล่าว และศาลอาญาพระโขนงอนุมัติหมายค้นให้เข้าทำการตรวจค้นในวันที่ 28 ต.ค.2565
  • ต่อมาวันที่ 28 ต.ค.2565 เวลา 12.00 น.เจ้าหน้าที่ ศปอส.ตร. ร่วมกับ สตม., บช.ทท.,บช.สอท.
  • ได้ร่วมกันนำกำลังเข้าตรวจค้นอาคารเป้าหมายตามหมายค้น ปรากฏว่าพบคนจีนและคนมาเลเซียจำนวนหนึ่งกำลังทำงานเกี่ยวกับเว็บพนันออนไลน์ โดยทำหน้าที่ควบคุมดูแลความเรียบร้อยและดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์ ต่อมาได้ขยายผลและพบว่ากลุ่มคนร้ายอีกจำนวนหนึ่งไปทำงานที่หอพักอีกแห่งหนึ่งบริเวณ แขวง หัวหมาก เขต บางกะปิ กทม. เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้นำตัวผู้ต้องหาบางส่วนเข้าขยายผล ซึ่งจากการเข้าตรวจค้นพบกลุ่มคนจีนอีกกว่า 56 คน ทำงานเป็นแอดมินเว็บไซต์พนันออนไลน์ ทำหน้าที่ชักชวนลูกค้าชาวต่างชาติให้เข้าเล่นผ่านแอพพลิเคชั่นโซเชียล Let’s Talk และ Telegram โดยเมื่อชักชวนเสร็จแล้วจะส่งไอดีของลูกค้า และผู้สมัครให้กับพนักงานแอดมินที่มีหน้าที่เปิดบัญชีลูกค้าแล้วจึงเปิดเครดิตให้ลูกค้าเล่น ซึ่งเบื้องต้นตรวจสอบพบว่าลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนจีนใช้เงินหยวนเล่นพนัน ยอดเงินหมุนเวียนกว่า 100 ล้านหยวน (ประมาณ 500 ล้านบาท) ซักถามเบื้องต้นรับว่าลักลอบอาศัยสถานะเป็นนักท่องเที่ยวลอบทำงานผิดกฎหมายดังกล่าว ได้ค่าจ้างตั้งแต่ 40,000 – 70,000 บาท จึงได้ทำการจับกุมตัวแจ้งข้อกล่าวหา เป็นบุคคลต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และตรวจยึดของกลาง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค จำนวนกว่า 70 เครื่อง โทรศัพท์มือถือ 78 เครื่อง นำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย และได้ทำการสืบสวนขยายผลเพื่อดำเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งหมด ตาม พ.ร.บ.การพนัน ต่อไป
  • ตม.3 กวาดล้างขยายผลจับกุมขบวนการขนคนเข้าเมือง
  • กก.สส.บก.ตม.3 ได้จับกุมคนต่างด้าว สัญชาติเมียนมา 6 ราย ข้อหาเป็นบุคคลต่างด้าวหลบหนี
  • เข้าเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต ในพื้นที่ อ.คลองหลวง จว.ปทุมธานี ขยายผลทราบว่า กลุ่มคนต่างด้าวดังกล่าว
  • เดินทางเข้ามาทางจว.กาญจนบุรี และ จว.ประจวบคีรีขันธ์ ทางช่องทางธรรมชาติ โดยนัดหมายกันทาง
  • โซเชียลมีเดีย จากการสืบสวนทราบว่า มีกลุ่มคนต่างด้าวอีกประมาณ 200 – 300 คน รอขบวนการเครือข่ายขนคนส่งรถมารับเพื่อเข้ามาทำงานในพื้นที่กรุงเทพ และเขตปริมณฑล กก.สส.บก.ตม.3 จึงได้ประสานกับ ตม.จว.กาญจนบุรี และ ตม.จว.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อวางแผนดำเนินการสกัดกั้นจับกุมไม่ให้มีการขนคนลักลอบหลบหนีเข้าเมือง โดยจับกุมขบวนการขนคนได้ 3 ราย ดังนี้
  • เคสที่ 1. ร่วมกับ ตม.จว.ประจวบคีรีขันธ์ จับผู้ต้องหารวม 20 ราย แยกเป็น คนนำพา 2 คน และ
  • ต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง 18 คน ของกลาง รถยนต์กระบะตู้ทึบ 1 คัน เดินทางมาจากหมู่บ้านมูด่อง ปลายทาง ต.ท่าจีน อ.เมือง จว.สมุทรสาคร จับกุมได้ที่ ต.ห้วยทราย อ.เมือง จว.ประจวบคีรีขันธ์
  • เคสที่ 2. ร่วมกับ ตม.จว.กาญจนบุรีจับผู้ต้องหารวม 13 คน แยกเป็นคนนำพา 1 คน และต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง 12 คน ของกลาง รถยนต์กระบะ 1 คัน เดินทางเข้ามาทาง ชายแดน อ.สังขละบุรี ปลายทาง อ.เมือง จว.สมุทรสาคร จับกุมได้ที่ ต.ท่าขุน อ.ทองผาภูมิ จว.กาญจนบุรี
  • เคสที่ 3 ร่วมกับ ตม.จว.ประจวบคีรีขันธ์ จับผู้ต้องหารวม 46 คน แยกเป็น คนนำพา 5 คน (เดินเท้าข้ามเทือกเขา) และคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง 41 คน เดินทางมาจากหมู่บ้านมูด่อง ปลายทาง ต.ท่าจีน
  • อ.เมือง จว.สมุทรสาคร จับกุมได้ที่ ต.ห้วยทราย อ.เมือง จว.ประจวบคีรีขันธ์
  • สกัดขาหนุ่มแดนภารตะ ตั้งตัวเป็นผู้มีอิทธิพล ผงะ Overstay กว่า 1000 วัน
    กก.สส.บก.ตม.4 ร่วมกับ ตม.จว.สุรินทร์ ได้จับกุมนาย KAMALESH (นามสมมติ) อายุ 30 ปี สัญชาติอินเดีย ข้อหาอยู่ในราชอาณจักรเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต 1,084 วัน เหตุจากได้รับร้องเรียนกรณีมีคนต่างด้าวสัญชาติอินเดียเข้ามาในพื้นที่ และแสดงตัวเป็นผู้มีอิทธิพล ก่อความเดือดร้อนรำคาญ อันทำให้เกิดความไม่สงบในพื้นที่ ขยายผลทราบว่า คนต่างด้าวรายดังกล่าวพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ จึงวางแผน
    สนธิกำลังกับหน่วยงานในพื้นที่เข้าจับกุม จากการสืบสวนทราบว่า นาย KAMALESH (นามสมมติ) เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 13 พ.ย.62 เคยพักอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี มีเหตุบาดหมางกับคนในพื้นที่อยู่ตลอด ต่อมาได้หลบหนีเข้ามาอยู่ในพื้นที่ อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ เรื่อยมา โดยได้ตั้งตัวเป็นนายห้าง ควบคุมดูแลคนต่างด้าวสัญชาติอินเดียในพื้นที่ จนกระทั่งเกิดเหตุทะเลาะกันในกลุ่มคนชาติอินเดีย เป็นเหตุให้มีการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยขณะเข้าทำการจับกุม นาย KAMALESH (นามสมมติ) รู้ตัวและหลบหนีไปซ่อนตัวในบ้านของชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมจึงได้วางกำลังสกัดเส้นทางหลบหนี จนกระทั่งไปจนมุมบริเวณเพิงพักสาธารณะริมถนน จอมพระ-บ้านปะ หมู่ 1 อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ และจับกุมตัวได้ จากการตรวจสอบในระบบสารสนเทศตรวจคนเข้าเมือง (Biometrics) พบว่า ผู้ถูกจับอยู่ในราชอาณาจักรเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต 1,084 วัน จึงควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *